เช็กลิสต์อาการอะไรบ้างที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

ร่างกายของคุณแม่ท้องที่ค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตลอด 9 เดือนนั้น จะต้องพบกับสัญญาณอาการของคนท้องหลายรูปแบบ และเพื่อให้คุณแม่สามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ จึงได้นำเช็กลิสต์อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ

 

6 สัญญาณอาการเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยของคุณแม่ตั้งครรภ์

  1. อาการแพ้ท้อง (Morning Sickness) เป็นอาการที่คุณแม่จะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งในคุณแม่ท้องส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นในช่วงเช้า โดยอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นมาก-น้อยต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งคุณแม่จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 6 สัปดาห์ (นับจากประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้าย) และจะมีอาการมากขึ้นในช่วงอายุครรภ์ได้ประมาณ 8-10 สัปดาห์1 ในคุณแม่ท้องที่มีอาการแพ้ท้อง สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น นมอุ่นๆ หรือน้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ยิ่งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างอาหารที่มีไขมันมาก และควรทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่ทานถี่ขึ้น2

  2. อาการปัสสาวะบ่อย สำหรับคุณแม่ท้องมือใหม่ ที่เพิ่งตั้งครรภ์ครั้งแรก อาจมีความสงสัยว่าทำไมตัวเองถึงได้ปวดปัสสาวะบ่อยในระหว่างวัน ซึ่งจริงๆ แล้วอาการปัสสาวะบ่อยถือเป็นอาการปกติของคนท้องค่ะ ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก นั่นเพราะว่าฮอร์โมนภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และมาจากมดลูกที่ค่อยๆ ขยายขนาดขึ้นจนเบียดกับกระเพาะปัสสาวะนั่นเองค่ะ ซึ่งอาการปวดปัสสาวะบ่อยจะมีขึ้นอีกครั้งช่วง 1 เดือนก่อนคลอด นั่นเพราะศีรษะของทารกไปกดกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่3

  3. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เชื่อว่ายังมีหลายๆ คนเกิดคำถามว่า ช่วงที่ท้องเนี่ย น้ำหนักควรอยู่ที่เท่าไหร่ ต้องบอกว่าน้ำหนักที่ได้มาตรฐานสำหรับคนท้องที่ต้องให้สมดุลไปตลอดทั้ง 9 เดือนนั่นคืออยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม แต่ส่วนมากคนท้องที่มีอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรกน้ำหนักจะไม่ค่อยขึ้นมากเท่าไหร่ แต่พอเข้าสู่ช่วงไตรมาส 2-3 น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสามารถแยกออกมาได้ คือ ตัวลูก 3,300 กรัม รก 680 กรัม น้ำคร่ำ 900 กรัม มดลูกที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม เต้านมที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม ไขมันและโปรตีนของตัวคุณแม่ 4,000 กรัม และมาจากเลือดกับน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้น 1,800 กรัม4 การเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็เพื่อตอบสนองต่อมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น และมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่และทารกในครรภ์จากการไหลเวียนของเลือดกลับเข้าหัวใจน้อยลงในท่านอนหงายและท่ายืน5 คุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายในระหว่างตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ด้วยการทานโฟเลท เพราะโฟเลทมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมฌกลบินในเม็ดเลือดแดง6

  4. อาการท้องผูก มักเกิดขึ้นในคนท้องเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนหนึ่งมากจากการทานอาหารที่มีกากใยน้อยลง และมาจากฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวทำให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อยลง7 สำหรับอาการท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่สามารถลดอาการท้องผูกได้ด้วย ดีอาร์ 10 (DR10) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์8 ที่ทำงานร่วมกับไฟเบอร์ช่วยในการเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหาร และช่วยในการกระตุ้นการขับถ่าย9

  5. อาการปวดหลัง พออายุครรภ์เข้าเดือนที่ 5 เป็นต้นไป รูปร่างและขนาดครรภ์ของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จนเป็นผลให้คุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักของท้อง ทำให้ต้องแอ่นหลัง การที่ต้องแอ่นหลังนานๆ เป็นผลให้คุณแม่มีอาการปวดหลังขึ้นได้ค่ะ ซึ่งอาการปวดหลังสามารถบรรเทาด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง เมื่อร่างกายของคุณแม่แข็งแรงก็จะช่วยพยุงรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้10

  6. อาการตะคริวถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณอาการที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งอาการตะคริวที่เกิดกับคนท้องนั้น มาจาการร่างกายมีปริมาณโปรตีนอัลบูมินในเลือดมากขึ้น ส่งผลให้แคลเซียมในเลือดจับกับโปรตีนอัลบูมิน ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง จึงเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขึ้น11 สำหรับคุณแม่ที่มักมีอาการตะคริวเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำให้รับประทานอาหารที่แคลเซียม เช่น กุ้งแห้ง ปลากรอบมีกระดูก หรือดื่มนมให้เพียงพอ12

 

หรือหากคุณแม่ท้องท่านไหนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการตั้งครรภ์ต่างๆ ก็สามารถส่งคำถามมาให้คุณหมอตอบได้ตามด้านล่างนี้ค่ะ

 

References
1 พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย. 2553. หน้า 100.
2 รศ.นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. 2540. หน้า 119.
3 รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 173.
4 รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 60.
5 ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สูติศาสตร์. 2551. หน้า 11.
6 ข้อความการกล่าวอ้างอิงหน้าที่ของสารอาหารที่มีในบัญี Thai RDI
7 พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย. 2553. หน้า 103.
8 Philip AW, et al. Scandinavian Journal of Gastroenterology, 2011; 46: 1057-1064.
9 ข้อความการกล่าวอ้างอิงหน้าที่ของสารอาหารที่มีในบัญี Thai RDI
10 รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์, และนพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์. 40 สัปดาห์พัฒนาครรภ์คุณภาพ. 2555. หน้า 144-145.
11 พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย. 2553. หน้า 105.
12 รศ.นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. 2540. หน้า 128.